บทความทางกฎหมายโดยอัยการวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ เรื่อง ดุลภาคระหว่าง การครอบครองปรปักษ์ กับ ความผิดฐาน บุกรุก ( 28 กพ 67)

บทความทางกฎหมายโดยอัยการวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์

เรื่อง ดุลภาคระหว่าง “การครอบครองปรปักษ์” กับความผิดฐาน “ บุกรุก”

 


​จากข่าว “ เพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ฝั่งตรงข้ามบ้านของ อากู๋ เข้ามาตัดต้นไม้แล้วใช้บ้านอากู๋ เป็นสถานที่จอดรถ ที่เก็บของ ที่ทำครัว ที่นั่งทานอาหาร และต่อเติมบ้านอากู๋ ให้เชื่อมกับออฟฟิศส่วนตัวบริเวณข้างกัน

​ต่อมาวันที่ 31 ส.ค. 2566 อากู๋ ,หลานชายและหลานสะใภ้ ออกมาแสดงตนว่าเป็นเจ้าของบ้านตัวจริง พร้อมเจรจากัน โดยฝั่งเพื่อนบ้านอ้างว่า ตนลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนสถานที่ให้ดีขึ้น และอ้างว่า               “ พยายามติดต่อขอซื้อ-เช่า แต่ติดต่อไม่ได้” แต่สุดท้ายเพื่อนบ้านก็ยอมถอยออกไป

​ต่อมา วันที่ 17 ก.ย. 2566 เมื่อเพื่อนบ้านยอมถอยออกไปแล้ว หลานเจ้าของบ้านจะเข้าไปเปลี่ยนกุญแจบ้านและล็อกบ้าน แต่กลับพบว่าเพื่อนบ้านได้ย้ายเข้าไปอยู่บ้านหลังดังกล่าวอีกครั้ง       ทำให้ต้องมีการเจรจาอีกครั้ง ในวันที่ 29 ก.ย. 2566 โดยในการเจรจาดังกล่าว ฝั่งเพื่อนบ้านยอมย้ายออกอีกรอบ และพยายามขอซื้อบ้านต่อจากเธอในราคา 1 ล้านบาท แต่หลานเจ้าของบ้านยังคงยืนยันว่าไม่ขายบ้าน

​ต่อมา วันที่ 22 พ.ย. 2566 เพื่อนบ้านยื่น “ฟ้องเป็นคดีแพ่ง” พร้อมอ้างว่าเป็นการ "ครอบครองปรปักษ์" ครอบครองมาเกินกว่าสิบปีแล้ว

​วันที่ 6 ม.ค. 2567 หลานเจ้าของบ้านได้รับ “ หมายศาล” หลังกลุ่มเพื่อนบ้านยื่นฟ้องในคดีแพ่ง พร้อมอ้างว่าเป็นการ "ครอบครองปรปักษ์" จากนั้นในวันที่ 29 ม.ค. 2567 ฝั่งอากู๋ ได้ยื่นฟ้องเพื่อนบ้านกลับ เป็นการยื่น “ฟ้องแย้งและฟ้องขับไล่”

​วันที่ 8 ก.พ. 2567 หลานเจ้าของบ้าน ได้เข้าไปดูบ้านอีกครั้ง พบว่า “มีการนำป้ายไวนิลขายไก่ทอดน้ำปลามาติดไว้ที่หน้าบ้าน และเมื่อดูในบ้าน พบวัตถุดิบสำหรับทำอาหารวางอยู่ และมีโต๊ะวางไว้คล้ายร้านอาหารตามสั่ง นอกจากนี้ ยังติดป้ายแสดงความเป็นเจ้าของ ด้วยข้อความว่า

 

"บ้านหลังนี้ข้าพเจ้าได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย บุคคลใดเข้ามากระทำการใด ๆ ในบ้านและที่ดินและบ้านหลังนี้ ถือว่ามีความผิดฐานบุกรุก จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน" พร้อมลงชื่อ-นามสกุล ตนเองต่อท้าย

 ต่อมา วันที่ 16 ก.พ. 2567 พนักงานสอบสวน สน.โครกคราม นำตัว นางสาว.ศ กับพวกรวม 5 คน มาส่งสำนวนให้ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญามีนบุรี 1 โดยมีความเห็น        สั่งฟ้องข้อหา “บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และ ลักทรัพย์”

​และเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2567 หนึ่งในเพื่อนบ้านที่เข้ายึดบ้านอากู๋ เกิดความเครียด ก่อนตัดสินใจผูกคอลาโลก โดยผู้เสียชีวิตคือ นางสาว ภ.หนึ่งในกลุ่มผู้ต้องหา “บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และลักทรัพย์”

 ข่าวนี้ทำให้เกิดกระแสกลัวการถูก “ ครอบครองปรปักษ์” จนกระทั่งต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง


 มาดูหลักกฎหมายในเรื่อง “ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน” และ “การครอบครองปรปักษ์”

​การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน :

 1. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ เช่น ได้มาโดยได้โฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง, หรือ ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว, ได้มาซึ่งที่บ้านที่สวน ตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 ที่ดินประเภทนี้เป็นที่ มีกรรมสิทธิ์แต่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ และ ไม่ถือว่า เป็นที่ดินมือเปล่า

 ******​2. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้มาโดยขอ “ออกโฉนดที่ดิน”ตั้งตำบลและได้มาโดยขอ “ออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย” (ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 และ 59)

 ***** 3. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน “โดยนิติกรรม” เช่น โดยการซื้อ การขาย/ แลกเปลี่ยน/ให้ /จำนอง, ขายฝาก ต้อง “ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่”    มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

 4. การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยผลของกฎหมาย เช่น

      4.1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากที่งอกริมตลิ่ง ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่งที่งอกนั้นเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น โดยหลักของที่งอกริมตลิ่งจะต้องเกิดขึ้นโดย ธรรมชาติและติดต่อเป็นผืนเดียวกันแต่เจ้าของที่ดินมีจะมีกรรมสิทธิ์ในที่งอกได้ต้องเป็นที่ที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน ถ้าเจ้าของที่ดินแปลงใดเป็นที่มือเปล่าเกิดที่งอกออกมาเจ้าของที่แปลงนั้นก็มีแต่สิทธิครอบครองที่งอก เท่านั้น

​​ดังนั้นหากเป็นงอกออกมาจากที่ดินมีโฉนดเจ้าของที่ดิน แปลงดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่งอกผู้อื่นจะแย่งการครอบครองที่ดินส่วนนี้ต้องครองครองปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีจึงได้กรรมสิทธิ์ หากเป็นที่งอกออกมาจากที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1., นส.3) เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองหากผู้อื่นแย่งการครอบครองและเจ้าของไม่ฟ้องร้องเรียกคืนภายใน1 ปี เจ้าของสิ้นสิทธิในที่งอกนั้น

 ********** 4.2 ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ****** 

​     ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

​     “บุคคลใด ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น ไว้โดยความสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ

​ถ้าเป็น อสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา10 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

  ที่ดินที่จะถูกครอบครองปรปักษ์ได้ จะต้องเป็นที่ดินของผู้อื่น และเป็นที่ดินที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เท่านั้น (โฉนดที่ดิน, โฉนดแผนที่, โฉนดตราจอง, ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วที่บ้านที่สวนตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ (บทที่42)

 ***ที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1/,น.ส.3) จะถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้*** เช่น ก.ครอบครองที่ดินมือเปล่า (ส.ค ๑ หรือ น.ส.๓ ) อย่างเจ้าของมา 10 ปี ก.ก็คงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น (ไม่ได้กรรมสิทธิ์)

 *******การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ จะต้องให้ศาลสั่งว่า ได้มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้วนำคำสั่งศาลไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินประเภทได้มาโดยการครอบครอง หากเจ้าของได้โดยการครอบครองบางส่วนก็ไปขอจดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วนหรือได้รับแบ่งมาโดยการครอบครอง

     4.3 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยทางมรดก  การจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกที่ดินมรดกนั้น ต้องเป็นที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เช่น โฉนดที่ดิน

​แต่ถ้า ที่ดินมรดก นั้นเป็น “ที่มือเปล่า” เช่นที่ น.ส.3, ส.ค.1 ก็มีเพียง “สิทธิครอบครอง” เท่านั้น

 การได้ทรัพย์มาโดยทางมรดกนี้จะต้อง จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เสียก่อนจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ เช่น

​นาย เอ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินโฉนดให้นาย บี. เมื่อนาย เอ. ตาย นาย บี. ก็ได้รับมรดกทันทีโดยผลของกฎหมายโดยไม่ต้องจดทะเบียน เนื่องจาก “พินัยกรรม” มีผลเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

        แต่ หากไม่มีพินัยกรรม เมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตายมรดกก็ตกไปยังทายาทโดยธรรมทันที

​แต่ต่อมาหากนาย บี.ต้องการขายที่ดินมรดกให้นาย ซี. นาย บี.จะทำไม่ได้เพราะชื่อในโฉนดยังเป็นชื่อนายเอ. เจ้าของเดิมอยู่ นาย บี.จะต้องจดทะเบียนการได้มาประเภท “มรดก” ลงชื่อนาย บี. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เสียก่อน จึงจะเอาที่ดินไปจดทะเบียนขายให้นาย ซี. ต่อไปได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 บัญญัติว่า

      “ถ้าผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่น นอกจากนิติกรรม  สิทธิ์ของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้ จดทะเบียน ไซร้ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้”

​****การได้มาทางมรดก ก็เป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมเช่นกัน

    ฉะนั้น “การครอบครองปรปักษ์”ก็เป็นเหตุในการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินเช่นกัน


  คราวนี้มาดู หลักกฎหมายเรื่อง “การครอบครองปรปักษ์”

 การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้ง “อสังหาริมทรัพย์” และ “สังหาริมทรัพย์” สำหรับการครอบครองปรปักษ์อสังหาริมทรัพย์มีหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ดังนี้

 1. ครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นของผู้อื่น

​2. โดยสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ

​3. ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี (5 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์)

 ​*******ต้องครบทั้งสามข้อ*********

 ถ้าการครอบครองที่ดินโดยที่ “เจ้าของที่ดินอนุญาต” ให้อยู่อาศัย  ผู้ครอบครองไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2539)

 การครอบครองปรปักษ์ ต้องเป็นการ “ครอบครองโดยสงบ” เช่น ไม่ได้ถูกฟ้องคดี หรือไม่มีผู้ใดมาโต้แย้ง และต้องเปิดเผย คือ ไม่ได้หลบ ๆ ซ่อน ๆ แต่แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปโดยเปิดเผย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679 – 682/2559

​ การครอบครองนั้นมีลักษณะเป็นการ “ครอบครองเพื่อตน” มิใช่ ครอบครองแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นผู้อาศัยหรือผู้เช่า แม้จะครอบครอบนานเท่าใด ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์

​แม้ผู้ครอบครองจะเข้าใจว่าที่ดินที่ตนครอบครองเป็นของตน แต่ความจริงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นอยู่ ก็หาทำให้สิทธิจากการครอบครองเสียไปไม่

​คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6151/2558

​จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์รวมทั้งทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของจำเลย โดยครอบครองที่ดินพิพาท โดยสงบ และ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ นับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดินของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยสำคัญผิดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินของจำเลยเอง หากแต่ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินของบุคคลอื่นที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ****หาจำต้องเป็นการครอบครองโดยจำเลยต้องรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ด้วยไม่******

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๕๖/ ๒๕๕๒

​การครอบครองโดยปรปักษ์นั้น มิใช่เพียงแต่ “ยึดถือเพื่อตนเอง” อย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังจะต้องมีการยึดถือครอบครอง ด้วยเจตนาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ส่วนจะมีเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องอยู่ภายในจิตใจ ต้องอาศัยพฤติการณ์ต่างๆ แห่งการยึดถือครอบครองมาประกอบว่าพอจะเป็นการ “ยึดถือครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ” ได้หรือไม่

​การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลย ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่า จำเลยครอบครองโดย มีเจตนาเป็นเจ้าของแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ครอบครองเคยแสดงออก เช่น หวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยว หรือ ดูแลรักษาที่ดินพิพาทไว้เพื่อประโยชน์แห่งตนและปฏิเสธต่อการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของต่อบุคคลอื่น เป็นต้น ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลย จึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของโจทก์

      คราวนี้มาดูเรื่อง  ความผิดฐาน “บุกรุก”

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 : ( เข้าไปเพื่อถือครอง / เข้าไปเพื่อรบกวนการครอบครอง / ยอมความได้ )

​“ผู้ใด เข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

 มาตรา ๓๖๔ : ( บุกรุกเคหสถาน/ ยอมความได้ )

 ผู้ใด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เข้าไป หรือ ซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้าม มิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 มาตรา ๓๖๕ : ( บุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์ โทษหนักขึ้น และยอมความไม่ได้ )

​ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๖๒ มาตรา ๓๖๓ หรือมาตรา ๓๖๔ ได้กระทำ

              (๑) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย

              (๒) โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือ

              (๓) ในเวลากลางคืน

              ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

​  จะเห็นได้ว่า การเข้าไปบุกรุกที่ดิน, ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น  หรือ อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยเจ้าของไม่ได้อนุญาต หรือ ยินยอม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อถือครอง เพื่อรบกวนการครอบครองที่ดิน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้า


บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง#รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง

https://www.facebook.com/REDLineSRTET


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ เปิดตัว คลินิกเวชกรรมเปาโล ซอยมังกรทางเลือกใหม่สำหรับการดูแลรักษา ป้องกัน และการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก ก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน

บทความทางกฎหมายโดยอัยการวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ เรื่อง “กู้ (ดอก) โหด โพสต์เปลือยประจาน”